เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 10. ทุติยกถาวัตถุสูตร
2. ตนเองเป็นผู้สันโดษ และแสดงคุณของความสันโดษแก่ภิกษุทั้งหลายข้อ
ที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สันโดษ และแสดงคุณของความสันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย’
นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
3. ตนเองเป็นผู้สงัด และแสดงคุณของความสงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่
ว่า‘ภิกษุเป็นผู้สงัดและแสดงคุณของความสงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น
ฐานะที่ควรสรรเสริญ
4. ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และแสดงคุณของความเป็นผู้ไม่คลุกคลีแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ไม่คลุกคลี และแสดงคุณของความไม่
คลุกคลีแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
5. ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และแสดงคุณของการปรารภความเพียร
แก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร และแสดงคุณ
ของการปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
6. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
ศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และแสดงคุณ
ของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
7. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และ
แสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น
ฐานะที่ควรสรรเสริญ
8. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้
เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
9. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และ
แสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น
ฐานะที่ควรสรรเสริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :154 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
10. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควร
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ 10 ประการนี้แล
ทุติยกถาวัตถุสูตรที่ 10 จบ
ยมกวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อวิชชาสูตร 2. ตัณหาสูตร
3. นิฏฐังคตสูตร 4. อเวจจัปปสันนสูตร
5. ปฐมสุขสูตร 6. ทุติยสุขสูตร
7. ปฐมนฬกปานสูตร 8. ทุติยนฬกปานสูตร
9. ปฐมกถาวัตถุสูตร 10. ทุติยกถาวัตถุสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :155 }